ศธ.ประกาศเพิ่ม 3จังหวัด พื้นที่สีแดงให้ เลื่อนเปิดเทอม

259
ศธ.ประกาศเพิ่ม 3จังหวัด พื้นที่สีแดงให้ เลื่อนเปิดเทอม

วันที่ 28 ต.ค.2564 ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. อาทิ ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ,ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมแถลงข่าว”ความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของสถานศึกษาสังกัด ศธ.ในวันที่ 1พฤศจิกายน 2564

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.)กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กำลังสำรวจจำนวนโรงเรียนว่าในภาคเรียนที่ 2/2564 นี้จะใช้รูปแบบใด โดยพบว่า มีทั้งขอเปิดแบบ on-site 100% หรือ on-site ส่วนใหญ่ รวม 12,000 โรงเรียน

มีบางแห่งขอใช้รูปแบบผสมผสานและมีบางพื้นที่ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ยังไม่ให้เปิดแบบ on-site ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ แต่ให้เลื่อนเปิดเทอม 2/2564 ออกไปเปิดวันที่ 15 พ.ย.2564 แทน เช่น โรงเรียนในพื้นที่สีแดงเข้ม 3 จังหวัดประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา,ปทุมธานี และนนทบุรี และจะปิดเทอม 2/2564 พร้อมกันในวันที่ 1 เม.ย.2565

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่าระหว่างภาคการศึกษาโรงเรียนหรือสถานศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอน ได้ทั้งรูปแบบ On-site หรือ Online หรือ แบบผสมผสาน (Hybrid),นักเรียน ครู และบุคลากร ทุกคนต้องประเมิน Thai Save Thai (TST) ตามเกณฑ์จำแนกตามเขตพื้นที่การแพร่ระบาด, มีการสุ่มตรวจคัดกรองหาเชื้อ (ATK) ทั้งนักเรียน ครู และบุคลากร เพื่อเฝ้าระวัง ,มีการปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น , ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small Bubble หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมข้ามกลุ่มกัน

“โรงเรียนขนาดเล็ก สามารถจัดนักเรียนในห้องเรียนขนาดปกติไม่เกิน 25 คน หรือจัดให้เว้นระยะห่างระหว่างนักเรียนในห้องเรียนไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ตลอดจนมีสถานที่แยกกักตัวในโรงเรียน หรือ พื้นที่แยกกักชั่วคราว หากจะจัดกิจกรรมกิฬาหรือเข้าค่าย มีนักเรียนไม่เกิน 25 คน” เลขาธิการ กพฐ. ระบุ รวมไปถึงแผนเผชิญเหตุสำหรับรองรับการดูแลรักษาเบื้องต้นกรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรใน สถานศึกษากรณีมีการติดCv-19 หรือ ผลตรวจคัดกรองหาเชื้ อเป็นบวก

โดยมีการซักซ้อมอย่างเคร่งครัด และควบคุมดูแลการเดินทางกรณีมีการเข้าและออกจากสถานศึกษาอย่างเข้มข้น โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสในพื้นที่ต่างๆ ตลอดเส้นทางการเดินทาง

ทั้งนี้ มาตรการและแนวทางต่างๆจะปรับตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ขึ้นกับคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครกำหนด

6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ประกอบด้วย

1.Distancing เว้นระยะห่าง

2.Mask wearing สวมหน้ากาก

3.Hand washing ล้างมือ

4.Testing คัดกรองวัดไข้

5.Reducing ลดการแออัด

6.Cleaning ทำความสะอาด

ส่วน 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) อย่างเข้มข้น คือ

1.Self-care ดูแลตนเอง

2.Spoon ใช้ช้อนกลางส่วนตัว

3.Eating กินอาหารปรุงสุกใหม่

4.Track ลงทะเบียนเข้าออกโรงเรียน

5.Check สำรวจตรวจสอบ

6.Quarantine กักกันตัวเอง