เปิดไทม์ไลน์ 2 สามีภรรยากาฬสินธุ์ ติดโอมิครอนลามแล้ว 21 ราย

312
เปิดไทม์ไลน์ 2 สามีภรรยากาฬสินธุ์ ติดโอมิครอนลามแล้ว 21 ราย

สถานการณ์การแพร่ โอมิครอน กระทรวงสาธารณสุขยังคงจับตาดูอย่างใกล้ชิด ตอนนี้มีการยืนยันประเทศที่มีการแพร่ ดังกล่าวไปแล้ว 98 ประเทศ ส่วนที่บางสำนักข่าวรายงานว่าแพร่ ไปเป็นร้อยประเทศแล้วนั้นขอให้ยึดตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักขณะที่ประเทศไทยมีผู้ติดโอมิครอน เข้าไปแล้ว 205 ราย ส่วนใหญ่มาจากผู้เดินทางในระบบเทสต์

โดยรายล่าสุดเป็นคู่ สามี-ภรรยา อายุ 47 ปี ที่พบที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เดินทางมาจากประเทศเบลเยียม ทั้งคู่ตรวจRT-PCR เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมและผลออกมาเป็นลบ เข้ามาประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เมื่อมาถึงก็ตรวจRT-PCR ผลเป็นลบ

จึงเดินทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์บ้านเกิด ในวันที่ 11 ธันวาคม จากนั้นวันที่ 12 ธันวาคม มีการรับประทานอาหารกับครอบครัว พบว่าร้านอาหารที่ใช้บริการมีลักษณะเป็นพื้นที่ปิด

ทั้งสองคนเริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 13 และ15 ธันวาคม ระหว่างนั้นทั้งสองคนมีการเดินทางไปธนาคาร และสถานที่ราชการหลายแห่ง โดยสารรถตู้ประจำทาง รวมถึงมีการข้ามพื้นที่ไปยังจังหวัดขอนแก่น มีการพบปะผู้คน จนเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง วันที่ 15 ธันวาคมมีการตรวจ ATK ซ้ำ

และเข้ารักษาตัว ในโรงพยาบาลวันที่ 17 ธันวาคม ผลยืนยันจากการตรวจRT-PCR ทั้ง 2 คนติดcv แล้วยืนยันสายพันธุ์ในวันที่ 21 ธันวาคมว่าเป็นโอมิครอน ทั้งสองคน

จากคลัสเตอร์นี้ทำให้มีรายงาน ผู้ติดเพิ่มขึ้นแล้ว 21 คน นอกจากนี้ ยังมีบางจังหวัด ที่อยู่ระหว่างการสอบสวน โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะติดตามสอบสวนทุกราย และจะนำรายละเอียด มานำเสนอต่อไป

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงาน การตรวจสายพันธุ์ 20-23 ระหว่างวันที่ 20-23 ธันวาคม จาก 874 ตัวอย่าง พบว่า ทั่วประเทศเป็นผู้ติดเดลตา 83.8% โอมิครอน 16.2% เฉพาะในกทม.207 ตัวอย่าง เป็นเดลตา 25.5% โอมิครอน 43.5% ขณะที่ภูมิภาค 667 ตัวอย่าง เป็นเดลตา 92.2% โอมิครอน 7.8%

และถ้าดูเฉพาะกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศจำนวน 221 ตัวอย่าง พบเป็นผู้ติดโอมิครอน 52.9% เดลตา 47.1% กลุ่มอื่นๆในประเทศ 653 ตัวอย่าง เป็นเดลตา 96.2% โอมิครอน 3.8% แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ที่ติดกว่าครึ่งเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งถือว่ามากกว่าตัวเลขการรายงานเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่โอมิครอนในกลุ่มเดินทางเข้าประเทศ มีเพียง 1 ส่วน 4

และจากรายงานประเทศอังกฤษพบว่า ผู้ติดสายพันธุ์เดลตาจะเข้ารักษาตัวที่โรงบาล 50% นอนโรงบาล 1 วันขึ้นไป 61% ขณะที่สายพันธุ์โอมิครอน เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 20-25 เปอร์เซ็นต์ นอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 40-45 % สอดคล้องกับการศึกษาของประเทศแอฟริกาใต้ ที่ศึกษาระหว่าง 1 ตุลาคมถึง 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

พบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลของโอมิครอน อยู่ที่ 2.5 % ถือว่าน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น แต่กลับพบว่ากรณีผู้ป่วยอาการหนักมีถึง 21 % หมายความว่าความรุนแรงไม่ต่างกันกับสายพันธุ์อื่น ดังนั้น แม้ ว่าผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลจากสายพันธุ์โอมิครอน

จะน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น แต่จะสรุปว่าโอมิครอน รุนแรงน้อยกว่าแล้วเราจะสบายใจ ไม่ต้องระมัดระวังมากจะถือเป็นการด่วนสรุปที่ประมาทเกินไป

เพราะตามภาพข่าวที่หลายประเทศในยุโรปมีผู้ติดเชื้อเป็นหลักแสน บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก และคนเหล่านี้กลายเป็นผู้สัมผัสเสียงสูงจะทำให้ระบบสาธารณสุขตรึงตัว ดังนั้นในเทศกาลปีใหม่กระทรวงสาธารณสุขโรงพยาบาล ระบบสาธารณสุขทั้งหมดของประเทศเตรียมความพร้อม ศูนย์กักตัวในชุมชน หรือการจัดทีมรองรับการแพร่ระบาดในชุมชน ต้องเตรียมพร้อมไว้