แอสตร้าเซเนก้า ซิโนแวค

1150
แอสตร้าเซเนก้า

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผย งานวิจัยของการฉีดวัคซีนแบบสลับ (Mix and Match) จากการตรวจภูมิคุ้มกันแบบภาพรวม รวมถึงการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แบบ heterologous prime-boost

ซึ่งร่วมกับศิริราชพยาบาล โดยใช้ไ ว รั ส ส า ย พั น ธุ์จริงที่กำลัง ร ะ บ า ดในประเทศไทย คือ สายพันธุ์เดลตา หรือสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) ทำการทดสอบโดยวิธีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปคือวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT)

ซึ่งต้องปฏิบัติในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อหาค่าที่ไวรัสสายพันธุ์เดลตาถูกทำลาย 50% (Neutralizing Titer 50%, NT50) โดยแอนติบอดีที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน พบว่าระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มต่างๆ

หลังการได้รับวัคซีนครบโดส 2 สัปดาห์ ต่อเ ชื้ อไ ว รั ส cv-19 สายพันธุ์เดลตา มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไ ว รั ส (ดังแสดงในแผนภูมิด้านบน) พบว่า

การให้วัคซีนสลับแบบ ซิโนแวค + แอสตร้าเซเนก้า (SV+AZ) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าการให้วัคซีน ซิโนแวค 2 เข็ม (SV+SV) และเทียบเท่ากับการให้ แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม (AZ+AZ)แต่ใช้เวลาสั้นลง

ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ฉีด แอสตร้าเซเนก้า เข็มแรกและตามด้วย ซิโนแวค c (AZ+SV)

ส่วนการกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วย แอสตร้าเซเนก้า คือ 2 เข็มแรกเป็นซิโนแวค (SV+SV+AZ) สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้นถึง 11 เท่า

ในขณะที่กระตุ้นเข็ม 3 ด้วยซิโนฟาร์ม (SV+SV+Sinopharm) ที่เป็นวัคซีนเชื้อตายเหมือนกัน ให้ภูมิคุ้มกัน

มาต่อกันที่ระดับภูมิคุ้มกัน

จากการที่ได้ติดตามผู้ได้รับวัคซีน ทำการศึกษาผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค3 สัปดาห์ โดยได้รับเข็มสองเป็นแอสตร้าเซเนก้า ทั้งหมด 125 ราย (ชาย 61 หญิง 64 อายุเฉลี่ย 40 (18-60 ปี) พบว่าระดับภูมิคุ้มกัน Quantitative Anti-S RBD

ซิโนแวค + แอสตร้าเซเนก้า เฉลี่ยที่ 716(399-1127)

ซิโนแวค + ซิโนแวคเฉลี่ยที่ 117 (58-204)

แอสตร้าเซเนก้า + แอสตร้าเซเนก้า เฉลี่ยที่207 (123-338)

ส่วนผลข้างเคียง ภายหลังการฉีดวัคซีนสลับ เข็ม 2 พบ

มีไข้ ร้อยละ 66

ปวดศีรษะ ร้อยละ 33

อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วงซึม ร้อยละ 28

ใกล้เคียงกับอาการจากการฉีด แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม เป็นการศึกษาที่สนับสนุนมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขกำลังติดตามประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนสูตรนี้อย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac 2 เข็ม (SV+SV)

กลุ่มที่ 2 ได้รับ วัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม (AZ+AZ)

กลุ่มที่ 3 ได้รับ วัคซีน CoronaVac และตามด้วย AstraZeneca (SV+AZ)

กลุ่มที่ 4 ได้รับ วัคซีน AstraZeneca และตามด้วย CoronaVac (AZ+SV)

กลุ่มที่ 5 ได้รับ วัคซีน CoronaVac 2 เข็มและตามด้วย Covilo 1 เข็ม (SV+SV+Sinopharm)

กลุ่มที่ 6 ได้รับ วัคซีน CoronaVac 2 เข็มและตามด้วย AstraZeneca 1 เข็ม (SV+SV+AZ)