มท. สั่งด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

850
มท. สั่งด่วนที่สุด ถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

วันที่ 9 เม.ย. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 65 เป็นต้นไป

จะเริ่มมีพี่น้องประชาชนทยอยเดินทางกลับยังภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2565 เพื่อพบปะญาติมิตร และหลายครอบครัวจะเดินทางท่องเที่ยว หรือร่วมกิจกรรมตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งในขณะนี้ สถานการณ์การแพร่กระจายของ CV-19 ยังคงมีจำนวนผู้ติดเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทย

โดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่กระจายของ CV-19 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้เน้นย้ำไปยังปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เตรียมความพร้อมดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับการจัดกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565 และแนวปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข

โดยใช้กลไกคณะกรรมการจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ประเมินและพิจารณาอนุญาตก่อนการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เช่น การแสดงคอนเสิร์ต ดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม ประเพณี การละเล่นท้องถิ่น การแสดงทางวัฒนธรรมขบวนแห่เล่นน้ำ (ตามจำนวนการรวมกลุ่มคนที่จังหวัดกำหนด) และกำกับ ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการ CV Free Setting และมาตรการ DMHTA ร่วมกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น/สาธารณสุขในพื้นที่ตลอดการจัดงาน อย่างเคร่งครัด

เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของ CV-19 เป็นวงกว้าง ทั้งนี้ ห้ามจัดกิจกรรมปาร์ตี้โฟม ประแป้ง ดื่ม หรือจำหน่ายเครื่องดื่ม รวมทั้งเฝ้าระวังและควบคุม กำกับ การปฏิบัติตามมาตรการ CV Free Setting ในกิจการต่าง ๆ เช่น ท่าอากาศยาน สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ร้านอาหาร ร้านอาหารกึ่งผับ ตลาด ศาสนสถาน สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

ผู้จัดงานต้องประเมินตนเองตามมาตรการ CV Free Setting ประเภทการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน หรือการจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น การแสดงคอนเสิร์ต การแสดงดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม ผ่านระบบ Thai Stop CV 2 Plus และสำหรับกิจกรรมสงกรานต์ในพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน

ต้องแจ้งให้ ศูนย์ปฏิบัติการควบคุม (ศปก.ต.) หรือศูนย์ปฏิบัติการควบคุม (ศปก.อ.) หรือสำนักงานเขต ทราบ โดยผู้เข้าร่วมงานต้องปฏิบัติตามมาตรการ DMHTA อย่างเคร่งครัด และตรวจหา CV-19 ด้วยชุดตรวจ ATK ทุกครั้งเมื่อร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยง หรือมีอาการ

นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอต้องเป็นผู้นำในการประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน สื่อสารสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับพี่น้องประชาชนผ่านทุกช่องทางสื่อสารในชุมชนและสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อเข้าถึงพี่น้องประชาชนอย่างหลากหลายในวงกว้าง ในการป้องกันตนเองแบบ Universal Prevention หรือการป้องกันการติด CV-19 ขั้นสูงสุด (แบบครอบจักรวาล) และ DMHTA ได้แก่

1) ออกจากบ้านเมื่อจำเป็น

2) เว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร

3) สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา

4) ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจล

5) อย่าใช้มือสัมผัสหน้ากาก รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก

6) ผู้เป็นกลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน

7) ทำความสะอาดที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ

8) แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

9) กินอาหารปรุงสุกใหม่ แยกสำรับ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว

10) หากพบว่ามีอาการหรือสงสัยว่าตนเองเสี่ยง ให้ตรวจด้วย ATK บ่อย ทันที เพื่อยืนยันว่าติด CV-19 หรือไม่ รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการรับวัคซีนอย่างครบถ้วนก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์

นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดใช้กลไกคณะกรรมการจังหวัดและประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับกรณีพบการแพร่กระจายของ CV-19 เพิ่มขึ้นระหว่างหรือหลังเทศกาลสงกรานต์

พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ไปยังสถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการควรพิจารณามาตรการ Work From Home ตามความเหมาะสม ภายหลังจากเทศกาลสงกรานต์ เพื่อป้องกันและสกัดกั้นการแพร่กระจายของ CV-19 ไม่ให้กระจายในวงกว้าง โดยหากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำผิดแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ สามารถแจ้งเบาะแสผ่านสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนทำตามมาตรการป้องกัน เพื่อลดการแพร่กระจายของ CV-19